dot dot
dot
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
อีเมล :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot

dot
dot

ราคาสินค้า
หมวดสินค้า
ยี่ห้อสินค้า
เลือกสี

  [Help]
dot




ภูไท article

 

 

 

เอกลักษณ์ของคนภูไท คือ ภาษาพูด และการแต่งกาย
มีภาษาพูดคือ "ภาษาภูไท"
การแต่งกาย จะแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น

 

เกร็ดภาษาภูไท

 "ภูไท"  คือชนชาติไทยสาขาหนึ่ง  ซึ่งมีสำเนียงภาษาพูดเป็นของตนเอง แต่คำส่วนมากก็ใกล้เคียงกับภาษาของชนชาติไทยสาขาอื่นๆ  เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภาษาภูไทไว้  ซึ่งเป็นภาษาถิ่นของไทยภาษาหนึ่ง ข้าพเจ้าจึงขอเขียนเกร็ดของภาษาภูไทในแง่ที่เห็นว่าแปลกแตกต่างจากภาษาไทยสาขาอื่น

ตัวหนังสือภูไท

ท่านถวิล เกษรราช เขียนไว้ในหนังสือ ประวัติผู้ไทย   ว่าแต่เดิมท่านก็เชื่อว่าชาวภูไทมีแต่ภาษาพูด  ต่อมาท่านได้ค้นพบว่าชาวภูไทมีหนังสือของตนใช้  แต่เนื่องจากต่อมาได้รับเอาตัวอักษรของลาวบ้าง ศึกษาอักษรธรรมบ้างในการเขียนอ่าน  อักษรของตนก็เลยหดหายไปไม่มีใครศึกษาสืบต่อ  ในที่นี้ขอคัดลอกจากหนังสือท่านถวิล  เกษรราช  ให้ดูว่าชาวภูไทนั้นเคยมีอักษรหรือตัวหนังสือของตนใช้มาก่อนพอเป็นหลักฐานเท่านั้น (ใบแทรก)  และต่อไปนี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่เป็นภาษาพูด

เสียงสระในภาษาภูไท

      สระใอ (ไม้ม้วน)
        ท่านสุธิวงศ์  พงศ์ไพบูลย์
  เขียนไว้ในหนังสือ หลักภาษาไทย ว่า สระ ใอ  ใช้กับคำที่เรานำมาจากภาษาไทยถิ่น  เช่น  ไทยดำ  ไทยขาว  ไทยคำตี่  พูไทย  ไทยในรัฐฉาน  ซึ่งเขาออกเสียงเป็น เออ  แต่เราออกเสียงให้เหมือนเขาไม่ได้  เราฟังดูจับได้ว่าคล้ายๆ  เสียง  ไอ  ของเรา ดังนั้นเราคิดรูปสระขึ้นใหม่ให้ใกล้เคียงกับ ไอ แต่ไม่ให้เหมือนกัน จึงคิด (ไม้ม้วน) ขึ้น 

                                

ที่มา : เว็บอีสานคลิกดอทคอม                                                                                                      

 

ซึ่งเป็นความจริงว่า  สระ ใอ  (ไม้ม้วน)  ในภาษาภูไทเกือบทั้งหมดจะออกเสียงเป็นสระ  เออ (วรรณยุกต์โทบางคำ) ดังนี้

ใหญ่    ออกเสียงเป็น   เญอ      เช่น      ยาห้ามหน้าห้ามต๋าผู้เญอ เพิ้นเด้อ

            ใหม่                           เมอ

            ให้                               เห้อ      เช่น      หาผ้าเมอ มาเห้อ กูเซอ แนสูเอ๊ย

            ใส่                               เซอ

            สะใภ้                          ลุเภ้อ   

            ใน                               เน้อ      เช่น      ลุเภ้อ เอาเส้อ (เสื้อ) ไป๋ไว้ เน้อ ตู้เห้อแน

            ใจ                               เจ๋อ       เช่น      เอ๋าเจ๋อเซอหนังสือหนังหาแนลุเอ๊ย

 

ใช้        ออกเสียงเป็น   เซ้อ      เช่น      เซ้อเห้อไป๋เมิง (เมือง) ฮ่อมิเห้อว้าไก๋

ใต้                               เต้อ      เช่น      เฮิน (เรือน) ข้อยยูทางบ้านเต้อพุ้น

ใด                               เลอ      เช่น      หองเจ้านะอั๋นเลอ   

ใคร                             เพอ      เช่น      เพอเอ็ดเผอเหลอยูซิเลอ

ใกล้                            เค้อ      เช่น      เพอยูไก๋เพิ้นเห้อ  เพอยูเค้อเพิ้นซัง

ใบ้                               เบ้อ      เช่น      คนขี้เบ้อยาเห้อมันไป๋นำเนาะ

ใบ                               เบ๋อ      เช่น      ขอปิดค้างเห้อเห็นเคอ ปิดเบ๋อเห้อเห็นมะดาย

ใย                               เยอ       เช่น      บ้าเบ้อถือเยอโบ๋ (บัว)

เปรียบเทียบร้อยกรองภาษาไทย กับ ภาษาภูไท  ในเรื่องสระ ใอ  (ไม้ม้วน)  เป็นสระ เออ  ดังนี้ 

 

 

 

สระ ใอ (ไม้ม้วน) ในภาษาไทย 

ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่                       ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ

ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ              มิหลงใหลใครขอดู

จะใคร่ลงเรือใบ                        ดูน้ำใสแลปลาปู

สิ่งใดอยู่ในตู้                            มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง

บ้าใบ้ถือใยบัว                          หูตามัวมาใกล้เคียง

เล่าท่องอย่าละเลี่ยง                  ยี่สิบม้วนจำจงดี

สระ เออ ในภาษาภูไท 

                                    ผู้เญอหาผ้าเมอ             เห้อลุเภ้อเซ้อค้องคอ

                                    เฟอเจ๋อเอ๋าเซอฮอ                     มิหลงเหลอเพอขอดู (เบิง)

                                    จะเค้อลงเฮอเบ๋อ                      เบิงน้ำเสอแลป๋าปู๋

                                    เผอเหลอยูเน้อตู้                        มิเซ้อ(แม้น)ยูเต้อตังเต๋ง

                                    บ้าเบ้อถือเยอโบ๋                       หูต๋าโมมาเค้อเคง

                                    เล้าท้องยาลิเล้ง                        เพง(เพียง)ซาว เออ จำจงดี

            หมายเหตุ         ข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่า

                                    คำว่า    จะใคร่             เทียบภาษาภูไทว่า        จะเค้อ

                                    คำว่า    มิใช่                                                    มิเซ้อ  (น่าจะว่า มิแม้น)

                                    คำว่า    น้ำใส                                                  น้ำเสอ (น่าจะว่า ใส )

 

                                    คำว่า    ใฝ่                    เทียบภาษาภูไทว่า        เฟอ

            จึงฝากผู้รู้นักปราชญ์ทั้งหลายวินิจฉัยต่อไป

            สระ เอือ         ออกเสียงเป็น  สระ เออ

                        เสือ      เป็น      เสอ     

                        เหลือ    เป็น      เหลอ    เช่น      กิ๋นซ้างกะมิเหลอ กิ๋นเสอกะมิอีม

เกลือ    เป็น      เก๋อ     

เหนือ   เป็น      เหนอ   เช่น      ไป๋เอ๋าเก๋อบ้านเหนอเห้อแน

                                    ฯลฯ

            สระ เอีย         ออกเสียงเป็น  สระ เอ

                        เมีย       เป็น      เม         เช่น      เอ๋าเมไป๋แล้วมิเห้อตีต๋างพ้า ห้า




อีสานบ้านเฮา




Copyright © 2010All Rights Reserved.